วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อินทรีย์ ๒๒



อินทรีย์ ๒๒
ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ปกครองทำกิจต่างๆ ในหน้าที่ของตนๆ เรียกว่า อินทรีย์ มี ๒๒ ประการ
ธรรมชาติเป็นภูมิเป็นพื้นที่ให้วิปัสสนาเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้น จวบจนบรรลุโลกุตตรธรรมเป็นที่สุดได้ ดังจะได้แสดงให้ประจักษ์ชัดต่อไปนี้
๑. จักขุนทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี
๒. โสตินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของหู มีหน้าที่รับเสียง
๓. ฆานินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของจมูก มีหน้าที่รับกลิ่น
๔. ชิวหินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของลิ้น มีหน้าที่รับรส
๕. กายินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของกาย มีหน้าที่รับสัมผัส
๖. มนินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของใจมีหน้าที่รู้อารมณ์
๗. อิตถินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของหญิง มีหน้าที่แสดงลักษณะ กิริยาอาการของหญิง
๘. ปุริสินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของชาย มีหน้าที่แสดงลักษณะกิริยาอาการของชาย
๙. ชีวิตินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของชีวิต มีหน้าที่รักษารูปนาม
๑๐. สุขินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของสุขเวทนา มีหน้าที่สบาย
๑๑. ทุกขินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของทุกขเวทนา มีหน้าที่ไม่สบาย
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของโสมนัสสเวทนา มีหน้าที่ดีใจ
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของโทมนัสสเวทนา มีหน้าที่เสียใจ
๑๔. อุเปกขินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของอุเบกขาเวทนา มีหน้าที่วางเฉย
๑๕. สัทธินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของศรัทธา มีหน้าที่เชื่อเลื่อมใส
๑๖. วิริยินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่เพียรพยายาม
๑๗. สตินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่รู้ทันปัจจุบัน
๑๘. สมาธินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของสมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา มีหน้าที่ตั้งมั่นแน่วแน่
๑๙. ปัญญินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติมัคคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานที่ยังไม่เคยรู้ ตัดอกุศลจิตได้ ๕ ดวง
๒๑. อัญญินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติผลญาณ จนถึง อรหัตตมัคคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพาน ตัดอกุศลจิตตามลำดับ
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ของอรหัตตผลญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานและตัดอกุศลจิต ๑๒ ดวง สิ้นเชิง
อินทรีย์ ๒๒ ประการนี้ ก็เป็นสภาวะปรมัตถธรรมเช่นเดียวกับขันธ์ ๕ โดยสงเคราะห์ ดังต่อไปนี้
๑. จักขุนทรีย์ ได้แก่ จักขุปสาทรูป
๒. โสตินทรีย์ ได้แก่ โสตปสาทรูป
๓. ฆานินทรีย์ ได้แก่ ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหินทรีย์ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป
๕. กายินทรีย์ ได้แก่ กายปสาทรูป
๖. มนินทรีย์ ได้แก่ จิตทั้งหมด
๗. อิตถินทรีย์ ได้แก่ อิตถีภาวรูป
๘. ปุริสินทรีย์ ได้แก่ ปุริสภาวรูป
๙. ชีวิตินทรีย์ ได้แก่ ชีวิตรูป ชีวิตนาม
๑๐. สุขินทรีย์ ได้แก่ สุขเวทนาเจตสิก
๑๑. ทุกขินทรีย์ ได้แก่ ทุกขเวทนาเจตสิก
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ได้แก่ โสมนัสสเวทนาเจตสิก
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ได้แก่ โทมนัสสเวทนาเจตสิก
๑๔. อุเปกขินทรีย์ ได้แก่ อุเปกขาเวทนาเจตสิก
๑๕. สัทธินทรีย์ ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก
๑๖. วิริยินทรีย์ ได้แก่ วิริยเจตสิก
๑๗. สตินทรีย์ ได้แก่ สติเจตสิก
๑๘. สมาธินทรีย์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก
๑๙. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกีย์)
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ)
๒๑. อัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ)
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ)
อินทรีย์ ๒๒ ประการนี้ เมื่อสรุปแล้ว ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม เหมือนกับภูมิอื่น สงเคราะห์ได้ดังนี้ คือ
๑. จักขุนทรีย์ เป็นรูปธรรม
๒. โสตินทรีย์ เป็นรูปธรรม
๓. ฆานินทรีย์ เป็นรูปธรรม
๔. ชิวหินทรีย์ เป็นรูปธรรม
๕. กายินทรีย์ เป็นรูปธรรม
๖. อิตถินทรีย์ เป็นรูปธรรม
๗. ปุริสินทรีย์ เป็นรูปธรรม
๘. ชีวิตินทรีย์ เป็นรูปธรรม และ นามธรรม
๙. มนินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๐. สุขินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๑. ทุกขินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๔. อุเปกขินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๕. สัทธินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๖. วิริยินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๗. สตินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๘. สมาธินทรีย์ เป็นนามธรรม
๑๙. ปัญญินทรีย์ เป็นนามธรรม
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นนามธรรม
๒๑. อัญญินทรีย์ เป็นนามธรรม
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นนามธรรม
อินทรีย์ ๒๒ แยกเป็น รูปธรรม ๗ เป็น นามธรรม ๑๔ เป็นทั้งรูปธรรม ทั้งนามธรรม ๑ รูปนามนี้เองที่นำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เป็นตัวกัมมัฏฐาน.

ที่มา : http://www.watpitchvipassana.com/vipassana-114-twenty-two-of-sense-faculties.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น